เมนู

พรรณนาวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ 7



เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ภายหลังสมัยของพระองค์
อสงไขยหนึ่ง ก็ว่างเว้นพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ. เมื่ออสงไขยนั้นล่วงไปแล้ว ใน
กัปหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็บังเกิด 3 พระองค์ คือ พระอโนมทัสสี
พระปทุมะ พระนารทะ.
บรรดาพระพุทธเจ้า 3 พระองค์นั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าอโนมทัสสีทรงบำเพ็ญบารมีสิบหกอสงไขยแสนกัป บังเกิด ณ
สวรรค์ชั้นดุสิต อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว ก็จุติจากดุสิตสวรรค์นั้น ทรงถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางยโสธรา ผู้มีพระเต้าถันงามช้อน อัคร-
มเหสีในราชสกุลของ พระเจ้ายสวา กรุง จันทวดีราชธานี. เล่ากันว่า เมื่อ
พระอโนมทัสสีกุมาร อยู่ในครรภ์ของพระนางยโสธราเทวี ด้วยอานุภาพบุญ
บารมี พระรัศมีแผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ 80 ศอก รัศมีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ข่มไม่ได้. ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์ ปาฏิหารย์
ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวไว้แต่หนหลัง.
ในวันรับพระนาม พระประยูรญาติเมื่อขนานพระนามของพระองค์
เพราะเหตุที่รัตนะ 7 ประการ หล่นจากอากาศในขณะประสูติ ฉะนั้นจึง
ขนานพระนามว่า อโนมทัสสี เพราะเป็นเหตุเกิดรัตนะอันไม่ทราม. พระองค์
ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ถูกบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ทรงครองฆราวาส
วิสัยอยู่หมื่นปี. เขาว่า ทรงมีปราสาท 3 หลัง ชื่อ สิริ อุปสิริ สิริวัฑฒะ
ทรงมีพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มีพระนางสิริมาเทวีเป็นประมุข เมื่อ

พระอุปวาณะ โอรสของพระนางสิริมาเทวีประสูติ พระโพธิสัตว์นั้นก็ทรงเห็น
นิมิต 4 เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือวอ ทรงผนวชแล้ว ชนสามโกฏิ
ก็บวชตามเสด็จพระองค์.
พระมหาบุรุษอันชนสามโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร 10
เดือน. แต่นั้น ในวันวิสาขบูรณมี เสด็จบิณฑบาตในหมู่บ้าน อนูปม-
พราหมณ์
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาอนูปมเศรษฐีถวายแล้วทรงยับยั้งพัก
กลางวัน ณ สาละวัน ทรงรับหญ้า 8 กำ ที่อาชีวกชื่ออนูปมะถวายแล้ว ทรง
ทำประทักษิณโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ ไม้กุ่ม ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง
38 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ 4 ทรงกำจัดกองกำลัง
มารพร้อมทั้งตัวมาร ทรงยังวิชชา 3 ให้เกิดในยามทั้ง 3 ทรงเปล่งพระอุทาน
ว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจาก สมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า พระสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นยอดของสัตว์
สองเท้า มีพระยศประมาณมิได้ มีพระเดชอันใคร ๆ
ละเมิดได้ยาก.
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกพันทั้งปวง รื้อภพทั้ง
3 เสียแล้ว ทรงแสดงบรรดาที่สัตว์ไปไม่กลับแก่เทวดา
และมนุษย์.
พระองค์ไม่ทรงกระเพื่อมเหมือนสาคร อันใคร ๆ
เข้าเฝ้าได้ยากเหมือนบรรพต มีพระคุณไม่มีที่สุด
เหมือนอากาศ ทรงบานเต็มที่แล้วเหมือนพญาสาล-
พฤกษ์.

แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์
ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระองค์
ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสี ได้แก่ น่าดูไม่มีที่เทียบ
หรือน่าดูหาประมาณมิได้. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารหาประมาณ
มิได้ หรือมีพระเกียรติหาประมาณมิได้. บทว่า เตชสฺสี ได้แก่ ทรงประกอบ
ด้วยเดชคือศีลสมาธิปัญญา. บทว่า ทุรติกฺกโม ได้แก่ อันใครกำจัดได้ยาก
อธิบายว่า ทรงเป็นผู้อันไม่ว่าเทวดา หรือมาร หรือใคร ๆ ไม่อาจละเมิดได้.
บทว่า โส เฉตฺวา พนฺธนํ สพฺพํ ได้แก่ ทรงตัดสัญโยชน์ 10 อย่างได้
หมด. บทว่า วิทฺธํเสตฺวา ตโย ภวา ได้แก่ กำจัดกรรมที่ไปสู่ภพทั้ง 3
ด้วยญาณเครื่องทำให้สิ้นกรรม. อธิบายว่า ทำไม่ให้มี. บทว่า อนิวตฺติคมนํ
มคฺคํ
ความว่า พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการกลับ การเป็นไป ท่าน
เรียกว่า อนิวตฺติ บุคคลย่อมถึงพระนิพพาน อันไม่กลับนั้น ด้วยมรรคานั้น
เหตุนั้นบรรดานั้น ชื่อว่าอนิวัตติคมนะ เครื่องไปไม่กลับ. อธิบายว่า ทรง
แสดงมรรคมีองค์ 8 อัน เป็นเครื่องไปไม่กลับนั้น. ปาฐะว่า ทสฺเสติ ดังนี้
ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เทวมานุเส ได้แก่ สำหรับเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อสงฺโขโภ ความว่า ทรงเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจให้กระ-
เพื่อให้ไหวได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อักโขภิยะ ผู้อันใครให้กระเพื่อมมิได้.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า สมุทรลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ เป็นที่อยู่แห่งภูต
หลายพันโยชน์ อันอะไรๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นผู้อัน